วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ระบบสุริยะจักรวาล


ระบบสุริยะจักรวาล หรือ Solar System ของเรานั้นประกอบไปด้วยดาวน้อยใหญ่หลายดวง นอกจากนั้นยังมีพวกก้อนหินขนาดใหญ่หรือดาวเคราะห์น้อยอีกนับไม่ถ้วนซึ่งอยู่ในแถบไคเปอร์ ซึ่งอยู่เลยวงโคจรของดาวเนปจูนออกไปถึงบริเวณขอบของระบบสุริยะจักวาลและยังมีดวงจันทร์บริวารของดาวเคราะห์อีก 166 ดวง วันนี้เราจะมาดูกันว่าดาวเคราะห์ในระบบสุริยจักรวาลของเรามีอยู่กี่ดวง มีชื่อว่าอะไรบ้าง

 ในระบบสุริยจักรวาลของเรานั้น มีดาวฤกษ์ซึ่งมีแสงสว่างในตัวเองเพียงแค่ดวงเดียวซึ่งก็คือดวงอาทิตย์ ในขณะที่มีดาวที่ถูกจัดชั้นเป็นดาวเคราะห์อยู่ทั้งสิ้น 8 ดวง (แต่เดิมมี 9 ดวง เรียกว่ากลุ่มดาวนพเคราะห์ – นพ แปลว่า เก้า แต่ดาวพลูโตถูกลดชั้นจาดดาวเคราะห์เป็นเป็นดาวเคราะห์แคระ) ไม่นับรวมกับดวงจันทร์บริวาร ซึ่งไม่นับรวมเป็นดาวเคราะห์

กำเนิดระบบสุริยะ
          จากสภาพของระบบสุริยะปัจจุบัน และการศึกษาสังเกตการณ์ วัตถุท้องฟ้านานาชนิด อย่างต่อเนื่องยาวนาน โดยอาศัยเครื่องมือดาราศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ นักดาราศาสตร์ได้ประมวลข้อมูล และสันนิษฐาน ถึงประวัติกำเนิดระบบสุริยะมาเป็นลำดับ ดังนี้

          ระบบสุริยะมีกำเนิดมาจากซากระเบิดที่สลายตัวของดาวฤกษ์ เมื่อประมาณ 5,000 ล้านปีก่อน กลุ่มก๊าซ และฝุ่นขนาดมหึมาที่เป็นต้นกำเนิดระบบสุริยะ ประกอบด้วย ก๊าซไฮโดรเจน และฮีเลียม หมุนวนแผ่กว้างรอบศูนย์กลาง จนเกิดลักษณะเป็นรูปจานแบน เมื่ออุณหภูมิรอบนอกค่อย ๆ ลดลง มวลสารต่าง ๆ จึงหลอมรวมกัน และก่อตัวเป็นวัตถุ แรกเริ่ม เรียกว่า เศษดาวเคราะห์ ดังนั้น ระบบสุริยะยุคแรกจึงเต็มไปด้วยเศษดาวเคราะห์แผ่ออก คล้ายเป็นวงแหวนกว้างใหญ่ โคจรรอบกลุ่มก๊าซต้นกำเนิดของดวงอาทิตย์ ซึ่งเศษดาวเคราะห์เหล่านี้ มีการปะทะและรวมตัวกันอยู่เสมอ จนมีขนาดใหญ่ขึ้น และมีแรงโน้มถ่วงสูงพอที่จะดึงดูดวัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ มารวมตัวกัน พัฒนาเป็นต้นกำเนิดของดาวเคราะห์ในเวลาต่อมา
 เมื่อกลุ่มก๊าซต้นกำเนิดของดวงอาทิตย์บีบอัดตัวเล็กลง จนอุณหภูมิที่ใจกลางสูงขึ้น ภายใต้ความดันสูงมาก ถึงระดับเกิดปฏิกิริยาเทอร์มอนิวเคลียร์ จึงเกิดเป็นดาวฤกษ์ใหม่ คือ ดวงอาทิตย์ ซึ่งแผ่พลังงานออกไปโดยรอบ ผลจากพลังลมสุริยะในช่วงแรกที่พัดพาอย่างรุนแรง ส่งผลให้ก๊าซซึ่งห่อหุ้มดาวเคราะห์ในเขตชั้นในของระบบสุริยะหลุดออกไปจากดาวเคราะห์ รวมทั้งค่อย ๆ กำจัดฝุ่น และก๊าซ ที่กระจายอยู่ระหว่างดาวเคราะห์ทั้งหลาย ทำให้อาณาเขตระบบสุริยะ ปลอดโปร่งมากขึ้น

 ในช่วงอายุเริ่มต้นของระบบสุริยะ เศษดาวเคราะห์คงโหมกระหน่ำพุ่งชนดาวเคราะห์ดวงใหม่ ๆ อย่างหนัก และต่อเนื่อง จึงปรากฏเป็นหลุมอุกกาบาตมากมายบนพื้นผิวหินแข็งของดาวเคราะห์ และดาวบริวารของดาวเคราะห์ทั่วไป ในระบบสุริยะมาจนถึงทุกวันนี้

    ดาวเคราะห์ก๊าซดวงใหญ่ที่อยู่ชั้นนอกของระบบสุริยะ เช่น ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ มีลักษณะคล้ายระบบสุริยะขนาดเล็ก ซ้อนอยู่ในระบบสุริยะใหญ่ ที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง เนื่องจากดาวเคราะห์ทั้งสองดวง ต่างมีปริมาณไฮโดรเจน และฮีเลียมสูงมาก คล้ายกับดวงอาทิตย์เช่นกัน แต่มวลสารต้นกำเนิดดาวเคราะห์คงมีขนาดไม่ใหญ่พอ และใจกลางดวง มีอุณหภูมิ และความดันไม่สูงมาก จึงไม่เกิดเกิดปฏิกิริยาเทอร์มอนิวเคลียร์ จนระเบิดเป็นดาวฤกษ์ได้ โดยสังเกตได้จากการที่เหล่าดาว
บริวารชั้นในของดาวเคราะห์ทั้งสองดวง ต่างมีพื้นผิวหินแข็งคล้ายดาวเคราะห์ชั้นในของระบบสุริยะเช่นกัน
ดาวเคราะห์น้อยเป็นเศษดาวเคราะห์ดั้งเดิมที่ถูกแรงโน้มถ่วงของดาวพฤหัสบดีรบกวนจนไม่สามารถรวมตัวกัน เกิดเป็นดาวเคราะห์ดวงใหญ่ได้ ทว่า ยังคงโคจรเป็นกลุ่มใหญ่ อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคาร กับวงโคจรของดาวพฤหัสบดี ทั้งนี้ เหล่าดาวเคราะห์น้อยแต่ละดวงจะมีองค์
ประกอบแตกต่างกันไป ตามระยะห่างจากดวงอาทิตย์ ซึ่งคล้ายกับความแตกต่างระหว่างดาวเคราะห์ดวงใหญ่ ๆ นั่นเอง

          ดาวหางเป็นเศษดาวเคราะห์ที่ห่อหุ้มด้วยน้ำแข็ง ซึ่งถูกดีดออกจากอาณาเขตระบบสุริยะ ด้วยอิทธิพลจากแรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์ชั้นนอก สันนิษฐานว่า คงมีดาวหางอยู่มากมายในเขตห่างไกลที่เลยจากเขตของดาวเนปจูนออกไป จนน่าจะเป็นอาณาจักรของดาวหาง ที่ห่อหุ้มอาณาเขตรอบนอกของระบบสุริยะไว้ หรือที่เรียกกันว่า ดงดาวหางของออร์ต (Oort comet cloud) เนื่องจากสังเกตพบว่า ดาวหางคาบสั้น ที่มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์น้อยกว่า 200 ปี กับดาวหางคาบยาว ที่มีวงโคจรกว้างไกลมาก มีวิถีโคจรแตกต่างกัน ดาวหางคาบสั้น มีระนาบโคจรใกล้เคียงกับระนาบสุริยวิถี และโคจรไปทางเดียวกับดาวเคราะห์ ต่างจากดาวหางคาบยาว ที่มีวิถีโคจรมาจากทุกทิศทาง อย่างไม่เป็นระเบียบ ซึ่งสอดคล้องกับความคิดเรื่องดงดาวหางของออร์ต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น